Museum opening hours: 8.30AM to 4.30PM. Monday - Friday

Lahu or Muser (ลาหู่ หรือ มูเซอ)

ปะวัติความเป็นมา

ลาหู่ หรือ มูเซอ อาศัยอยู่ในประเทศจีน เมื่อถูกรุกรานจึงอพยพมาทางตอนใต้เข้าสู่ประเทศพม่า และทางเหนือของประเทศไทย มูเซอ เป็นภาษาพม่า แปลว่า นายพราน เนื่องจากมีความชำนาญในการล่าสัตว์โดยใช้หน้าไม้ ภาษาอังกฤษ เรียกว่า ลาฮู ลาหู่ หรือ มูเซอ แบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้ 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มใหญ่ 2 กลุ่ม ได้แก่ มูเซอดำและมูเซอแดง และกลุ่มเล็ก 2 กลุ่ม ได้แก่ มูเซอฌีหรือมูเซอกุย และมูเซอเฌเล ซึ่งการแบ่งเป็น 4 กลุ่มย่อยเช่นนี้ เป็นการแบ่งตามความแตกต่างในเรื่องพิธีกรรมทางศาสนาและการแต่งกาย แต่ในทางภาษาศาสตร์แล้ว ภาษามูเซอดำ มูเซอแดง และมูเซอเฌเล ใช้พูดติดต่อกันได้ ยกเว้นภาษามูเซอกุยเท่านั้นที่ใช้พูดติดต่อ กับมูเซอกลุ่มอื่นไม่ได้

วิถีชีวิต

วิถีชีวิตของคนในสังคมเกษตรกรรมเพื่อการยังชีพ ความอยู่รอดของชาวลาหู่ขึ้นอยู่กับธรรมชาติอย่างกลมกลืน ไม่ว่าเป็นดิน ความพอดีของน้ำจากท้องฟ้า วัฒนธรรมของชาวลาหู่ผูกพันอยู่เป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติได้สะท้อนออกมาในรูปแบบวรรณกรรมปากเปล่า ซึ่งผู้นำศาสนามักจะสอนศาสนิกชน ของตน “กระดูกของเราเป็นก้อนหิน เนื้อหนังของเราเป็นดิน สายเลือดเป็นสายน้ำ ลมหายใจเป็นอากาศ และความอบอุ่นภายในกายเป็นแสงแดด” ดินเป็น ตัวแทนธรรมชาติที่มีความผูกพันที่ใกล้ชิดมนุษย์

ลักษณะบ้านเรือน

มูเซอจะปลูกบ้านอยู่บนดอยสูงระดับ 4,000 ฟุตขึ้นไปจากระดับน้ำทะเล เพราะถือว่าผู้ที่อยู่สูงจะเหนือกว่าผู้ที่อยู่ที่ต่ำ บ้านมูเซอจะสร้างด้วยไม้ไผ่ เสาไม้ หลังคาแฝกหรือคา หน้าบ้านมีนอกชาน มีเตาไฟก่อไว้กลางบ้านหรือมุมบ้านสำหรับให้ความอบอุ่นในฤดูหนาว และหุงต้มอาหาร บ้านเรือนของเผ่าลาหู่ส่วนมากปลูกยกพื้นใต้ถุนสูง ซึ่งจะใช้เป็นที่เก็บฟืน เสาบ้านเป็นไม้เนื้อแข็ง พื้นฟาก ฝาฟาก มุงด้วยหญ้าคา หรือใบก้อ วิธีมุงหลังคาด้วยหญ้าคาของชาวลาหู่ค่อนข้างแปลก คือ แทนที่จะมัดคาเป็นต้นๆ เขาใช้มุงฟ่อนทับกันหนาแน่นเช่นเดียวกับวิธีการมุงหลัง คาด้วยหญ้าของชาวยุโรป การมุงแบบนี้ทำให้ใช้ได้ทน และอบอุ่นในฤดูหนาว ตัวบ้านแบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนหน้าเป็นชานนอกชายคา ปูด้วยไม้ฟาก มีบันไดเป็นไม้ท่อนยาวพาดจากพื้นดินขึ้นไปสู่บ้าน ตอนหลังเป็นห้องสี่เหลี่ยมกว้าง 3-4 เมตร มีฝาสานรอบทุกด้าน สูงประมาณ 1 เมตรครึ่ง ทำด้วยไม้ไผ่ล้วนไม่มีเพดาน ตรงกลางห้อง มีเตาไฟ 1 เตา สำหรับทำอาหาร รอบๆ เตาไฟเป็นที่นอน และใช้เป็นที่ต้อนรับแขกด้วย สำหรับบ้านของหัวหน้าหมู่บ้านจะใหญ่โตกว่าบ้านของลูกบ้านราว 2 เท่า มีห้องนอนสำหรับต้อนรับแขก กับห้องนอนของครอบครัว เตาไฟทำไว้ 2 แห่ง เพราะบรรดาแขกผู้ไปเยือนหมู่บ้านจะไปหาหัวหน้าหมู่บ้านก่อน และพักค้างแรมอยู่ภายในบ้านผู้เป็นหัวหน้านั้นเอง

เครื่องดนตรี

เครื่องดนตรีลาหู่ เช่น กลอง ฉิ่งฆ้อง แคน ลาหู่มีความชำนาญในเรื่องพวกนี้มาก ใช้ในช่วงเทศกาลปีใหม่ หรือช่วงมีการเต้นรำในหมู่บ้าน และใช้ในวันศีล

 

Overview

The Lahu are located primarly in Chiang Mai and Chiang Rai provinces, but can also be found in considerable numbers as far south as Tak province. The majority of Lahus in Thailand are Red Lahu, pantheistic animists who follow a Dtobo, a messianic leader. There are also a significant number of Black, Yellow and Shehleh Lahus in Thailand, many of whom have been Christian for nearly one hundred years. Black Lahu are the most populous throughout Southeast Asia and theirs is considered to be the standard Lahu dialect.

Lifestyle and House

Although primarily subsistence farmers, growing rice and corn for their own consumption, the Lahu are also proud of their hunter-warrior heritage. They remain a strict, serious people governed by strong principles of right and wrong, every individual in the village answering to the common will of the elders. While less importance is placed on the extended family than in other hill tribe communities, the Lahu are still strongly committed to principles of unity and working together for survival. Lahus may have the most gender-equitable society in the world.

House

Mostly, Lahu houses are high raised from the ground because it used for keeping the firewoods. The poles of the house are wooden poles. Lahus have a strange way of roofing, instead of tying the sharp and tapering gress call “ Yah Ka” together, Lahus pile up the Yah Ka to make the roof thick. It is the same way of European roofing. This kind of roofing is durable and give warmth in winter. The house is divided into two parts, the first part is the terrace which is paved by strips of split bamboo and lead from the ground to the house by long wooden stair.

The second part is the 3-4 meter-width room and encloses with 1.5 meter strips of split bamboo. The house has no ceiling. In the middle of the house, there is a stove for cooking. The area around the stove is used as a bedroom and drawing room. The house of the headman is bigger than general villagers for two times. There are the bedroom for guests and themselves including two stoves because the guests who came to headman’s house first always visit and stay overnight there.

Instrument

Lahu are expert on playing the drum, rice flute or leaf blowing.

Post a comment