Mlabri or Phi Tong Luang (ชนเผ่ามาลาบรี (มละ) หรือ ผีตองเหลือง)

ประวัติความเป็นมา มาลาบรี (มละ) หรือ ผีตองเหลือง ชนกลุ่มนี้เรียก ตัวเองว่า “คนป่า” หรือ “มลาบรี” ไม่ชอบถูกเรียกว่า “ผีตองเหลือง” ชนเผ่ามละ หรือที่คนอื่นเข้าใจในชื่อเผ่าตองเหลืองหรือ มลาบรี โดยสามารถแบ่งความหมายของชื่อของชนเผ่านี้ได้ดังนี้คือ “มละ” แปลว่า คน  เป็นคำที่ชนเผ่านี้ใช้เรียกชนเผ่าของตนเอง วิถีชีวิต ในปัจจุบันนั้นขนเผ่ามละได้หันมาทำไร่ ทำสวนกันรวมถึงการทำปศุสัตว์ต่างๆเป็นอาชีพหลัก ซึ่งต่างจากสมัยก่อนที่ชนเผ่านี้นั้นต้องหาของป่ากินเพื่อประทังชีวิต โดยไม่มีอาชีพที่แน่นอน ทั้งนี้ทั้งนั้นชนเผ่ามละได้เรียนรู้การทำสวนและปศุสัตว์ต่างๆมาจากชนเผ่าม้ง และได้รับการสนับสนุนทางด้านการตลาดจากกลุ่มศูนย์พัฒนา จังหวัดแพร่ ในด้านสังคมชนเผ่ามละนั้นจะแบ่งหน้าที่กันชัดเจนโดย ผู้ชายจะออกไปล่าสัตว์ ส่วนผู้หญิงจะทำที่พัก หุงข้าว และงานในครัวเรือนต่างๆ บ้านเรือน ในส่วนของบ้านเรือนของชนเผ่ามละนั้นพวกเขาจะสร้างที่พักชั่วคราวเนื่องจากจะย้ายถิ่นฐานหรืออพยพไปเรื่อยๆเพื่อหาที่ที่มีอาหารเพียงพอ ลักษณะเพิงที่พักของชนเผ่ามละสร้างจากไม้ไผ่คล้ายกับเพิงหมาแหงนขนาดขึ้นอยู่กับจำนวนสมาชิกในครอบครัวใช้พื้นดินเป็นพื้นเพิงและนำหญ้าฟางแห้งหรือใบตองมาปูบนพื้น เครื่องดนตรี สมัยก่อนชนเผ่า มละ มีเครื่องดนตรีที่ใช้กันอยู่ยามว่างอยู่บ้าง เช่น การเป่าใบไม้เป็นเพลง และมีการนำกระบอกไม้ไผ่มาทำเป็นกลอง แล้วตีเป็นจังหวะ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นในการเป่าใบไม้หรือตีกลองนั้นจะไม่ค่อยตีดังมาก หรือจะเล่นได้ก็ต่อเมื่อมีความมั่นใจว่าบริเวณนั้นห่างไกลพอที่คนอื่นจะได้ยิน แต่ปัจจุบันเครื่องดนตรีของสมัยก่อนไม่ได้มีการสอนต่อๆ กัน อีกทั้งคนรุ่นใหม่ก็เล่นไม่เป็น จึงไม่เห็นใครเล่นแล้ว

Continue reading

Mien or Yao (เมี่ยน หรือ เย้า)

ประวัติความเป็นมา ชาวเมี่ยน (เย้า) ถิ่นฐานเดิมอยู่ในประเทศจีนแถบแม่น้ำแยงซี “เมี่ยน” เป็นชื่อที่ทางราชการตั้งให้ หรือบางครั้งจะเรียกว่า “อิ้วเมี่ยน” แปลว่า มนุษย์ ได้รับการจัดให้อยู่ในเชื้อชาติ มองโกลอยด์ วิถีชีวิต ชุมชนของเมี่ยนในอดีตนั้นพึ่งตนเองค่อนข้างสูง ทั้งในด้านการดำรงชีวิต และการจัดการภายในชุมชน จะมีตำแหน่งฝ่ายต่างๆ ที่มีความสำคัญ และเอื้อต่อการจัดการในชุมชน ครอบครัวของเมี่ยนเป็นครอบครัวที่ขยาย มีสมาชิกในครอบครัวมาก เพราะถือว่าเป็นแรงงานสำคัญ หัวหน้าครอบครัว คือ ผู้ชายอาวุโสสูงสุด อาจเป็นปู่ หรือพ่อ โดยมีบุตรชายคนโตเป็นผู้สืบสกุลคนต่อไป บ้านเรือน ชาวเมี่ยนนิยมสร้างบ้านที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000-1,500 เมตร ปัจจุบันชาวเมี่ยนบางกลุ่มอาศัยอยู่พื้นที่ราบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสะดวกในการประกอบอาชีพ และการปกครองของทางราชการ บ้านของเมี่ยนมักหันหลังสู่เนินเขา หากอยู่พื้นราบมักหันหน้าออกสู่ถนน ผังบ้านเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ปลูกคร่อมดินมีห้องนอนแบ่งแยกย่อยเป็นหลายๆ ห้อง ภายในบ้าน พ่อแม่แยกห้องให้ลูกสาวเมื่อเห็นว่าลูกสาวเริ่มเป็นสาวแล้ว ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการเลือกคู่ของหญิงสาวตามประเพณีการเที่ยวสาว มีห้องครัวแยกไปอีกห้องหนึ่ง และมีบริเวณห้องใหญ่เป็นที่โล่งมีแคร่ หรือเตียงไว้นั่งเล่น หรือสำหรับแขกมุมใดมุมหนึ่งของห้อง ในบ้านไม่มีหน้าต่าง แต่มีประตูเข้าออกหลายทาง ประตูที่สำคัญที่สุด

Continue reading

Lisu or Lisaw (ลีซู หรือ ลีซอ)

ประวัติความเป็นมา ลีซูเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่จัดอยู่ในกลุ่มธิเบต-พม่า ของชนชาติโลโล ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของชนเผ่าลีซูอยู่บริเวณต้นน้ำโขงและแม่น้ำสาละวิน อยู่เหนือหุบเขาสาละวินในเขตมณฑลยูนนานตะวันตกเฉียงเหนือและตอนเหนือของรัฐคะฉิ่น ประเทศพม่า ลีซูไม่มีภาษาเขียนของตนเองลีซูแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ ลีซูลายกับลีซูดำ ชาวลีซูที่อยู่ในประเทศไทยเกือบทั้งหมดเป็นลีซูลาย ส่วนลีซูดำนั้นอยู่ พม่า จีน ลักษณะบ้านเรือน ลักษณะบ้านแบบคร่อมดิน: ลักษณะของบ้านแบบปลูกคร่อมดินนั้น มักจะปลูกในพื้นดินที่เรียบเสมอกัน ส่วนวัสดุการก่อสร้างใช้ไม้ไผ่ ยกเว้นเสาบ้านที่ต้องใช้ ไม้เนื้อแข็งเพื่อความมั่นคง ส่วนฝานั้นกั้นด้วยฟากแบบสานขัดแตะ ส่วนหลังคามุงด้วยหญ้าคา ตัวบ้านจะไม่มีหน้าต่างมีประตูเข้าด้านหน้าด้านเดียว ภายในค่อนข้างจะมืด ส่วนบริเวณลานบ้านด้านนอกจะเป็นที่ตั้งครก กระเดื่องสำหรับตำข้าวประจำบ้าน และหลังบ้านจะเป็นเล้าไก่หลังเล็กๆ สำหรับไก่ที่เลี้ยงไว้ สร้างแบบยกพื้นมีหลังคาคลุมที่นอนของไก่ และมีรังไข่ ลักษณะ และรูปแบบในการสร้างบ้านของลีซูนั้น แบบเดียวกับอาข่า เพราะคำนึงถึงประโยชนใช้สอย ดังนั้นการสร้างบ้านในลักษณะนี้กันทั้งฝน และลมหนาวได้ดี ลักษณะบ้านยกพื้น: ปกติบ้านของลีซูโดยทั่วไปจะสร้างคร่อมดิน แต่ก็มีบางหมู่บ้านที่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นลาดเขาพื้นที่ราบมีน้อย การปลูกสร้องบ้านจึงจำเป็นต้อง ยกพื้นเพื่อให้เหมาะกับสภาพของพื้นที่ และใต้ถุนก็จะเป็นผลพลอยได้ซึ่งใช้ประโยรน์ได้หลายอย่าง เช่น เป็นที่ตั้งครกกระเดื่องตำข้าว ที่เก็บฝืน และที่ตั้งเล้าไก่ ส่วนหน้าบ้านก็จะเป็นที่นั่งพักผ่อน และอาบแดดช่วงเช้าในยามหน้าหนาว ส่วนบันไดทางขึ้นนั้นจะอยู่ด้านของชานด้านใน

Continue reading

Lahu or Muser (ลาหู่ หรือ มูเซอ)

ปะวัติความเป็นมา ลาหู่ หรือ มูเซอ อาศัยอยู่ในประเทศจีน เมื่อถูกรุกรานจึงอพยพมาทางตอนใต้เข้าสู่ประเทศพม่า และทางเหนือของประเทศไทย มูเซอ เป็นภาษาพม่า แปลว่า นายพราน เนื่องจากมีความชำนาญในการล่าสัตว์โดยใช้หน้าไม้ ภาษาอังกฤษ เรียกว่า ลาฮู ลาหู่ หรือ มูเซอ แบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้ 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มใหญ่ 2 กลุ่ม ได้แก่ มูเซอดำและมูเซอแดง และกลุ่มเล็ก 2 กลุ่ม ได้แก่ มูเซอฌีหรือมูเซอกุย และมูเซอเฌเล ซึ่งการแบ่งเป็น 4 กลุ่มย่อยเช่นนี้ เป็นการแบ่งตามความแตกต่างในเรื่องพิธีกรรมทางศาสนาและการแต่งกาย แต่ในทางภาษาศาสตร์แล้ว ภาษามูเซอดำ มูเซอแดง และมูเซอเฌเล ใช้พูดติดต่อกันได้ ยกเว้นภาษามูเซอกุยเท่านั้นที่ใช้พูดติดต่อ กับมูเซอกลุ่มอื่นไม่ได้ วิถีชีวิต วิถีชีวิตของคนในสังคมเกษตรกรรมเพื่อการยังชีพ ความอยู่รอดของชาวลาหู่ขึ้นอยู่กับธรรมชาติอย่างกลมกลืน ไม่ว่าเป็นดิน ความพอดีของน้ำจากท้องฟ้า วัฒนธรรมของชาวลาหู่ผูกพันอยู่เป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติได้สะท้อนออกมาในรูปแบบวรรณกรรมปากเปล่า ซึ่งผู้นำศาสนามักจะสอนศาสนิกชน

Continue reading

Karen or Paka-Kyaw (กะเหรี่ยง)

ประวัติความเป็นมา กะเหรี่ยงเป็นชนเผ่าที่จัดได้ว่ามีหลายเผ่าพันธุ์ หลายภาษา มีการนับถือศาสนาที่ต่างกัน แต่กะเหรี่ยงดั้งเดิมจะนับถือผี เชื่อเรื่องต้นไม้ป่าใหญ่ ภายหลังหันมานับถือพุทธ คริสต์ เป็นต้น กะเหรี่ยง มีถิ่นฐานตั้งอยู่ที่ประเทศพม่า แต่หลังจากถูกรุกรานจากสงคราม จึงมีกะเหรี่ยงที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ประเทศไทย วิถีชีวิต ถืออาชีพที่เป็นอิสระ กะเหรียงดั้งเดิมส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา อยู่ตามป่าตามเขา ปลูกพืชผักสวนครัวตามฤดูกาล ส่วนสัตว์เลี้ยงก็จะเลี้ยงไว้เพื่อเป็นอาหารมากกว่าการค้าขาย ใช้ชีวิตแบบพึ่งป่าพึ่งน้ำอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ ลักษณะบ้านเรือน ลักษณะบ้านเรือนของกะเหรี่ยงนั้นนิยมสร้างเป็นบ้านยกพื้นสูง มีชานบ้าน บางส่วนก็ตั้งบ้านเรือนบนที่ราบเช่นเดียวกับชาวพื้นราบทั่วไป แต่ส่วนใหญ๋แล้วชาวะเหรี่ยงจะตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่งถาวร ไม่ย้ายถิ่นบ่อยๆ เครื่องดนตรี เตหน่า เป็นเครื่องดนตรีของชนเผ่ากะเหรี่ยง ทำด้วยไม้อ่อน เหลาและกลึงให้เป็นรูปเหมือนกล่องรูปทรงรี มีก้านยาวโก่งและโค้งสูงขึ้นไป ที่ตัวจะเจาะรูเป็นโพรงปิดด้วยโลหะบางๆ สายทำด้วยเส้นลวดมีสายตั้งแต่ 6-9 สาย เตหน่าใช้สำหรับดีดและร้องเพลงประกอบ ใช้ในโอกาสมีเวลาว่างและเพื่อความสนุกสนาน โดยเฉพาะหนุ่มชาวปกาเกอญอจะใช้เตหน่าในการเกี้ยวพาราสีหญิงสาวในยามค่ำคืน    

Continue reading

Hmong (ม้ง)

ประวัติความเป็นมา ม้ง หมายถึง อิสระชน เดิมอาศัยอยู่ในประเทศจีน ต่อมาชาวจีนเข้ามาปราบปราม เป็นเหตุให้อพยพลงมาถึงตอนใต้ของจีน และเขตอินโดจีน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และตอนเหนือของประเทศไทย ประมาณพ.ศ. 2400 โดยมีสองกลุ่มได้แก่ ม้งน้ำเงินและม้งขาว ประชากรของม้งในประเทศไทย มีมากเป็นอันดับ 2 รองจากกะเหรี่ยง ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามภูเขาสูง วิถีชิวิต ในอดีตนั้นม้งอาศัยอยู่ตามภูเขาอยู่ตามธรรมชาติ ม้งต้องตรากตรำทำงานหนักอยู่แต่ในไร่เท่านั้น ทำให้ม้งไม่มีเวลาที่จะดูแลตัวเองและครอบครัว ดังนั้นชีวิตความเป็นอยู่ของม้งจึงเป็นแบบเรียบง่าย เพราะคลุกคลีกับธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่เท่านั้น ชีวิตประจำวันของม้งคือ จะทำไร่ ทำสวน และหารายได้เล็กน้อยเพื่อจุนเจือครอบครัว ส่วนเรื่องอาหารก็จะเป็นเรื่องเรียบง่าย ในการกินอาหาร ม้งนิยมใช้ตะเกียบซึ่งรับมาจากธรรมเนียมจีน ส่วนเหล้าจะนิยมดื่มกันในงานเลี้ยงต่างๆ เช่น งานแต่งงาน งานเลี้ยงญาติ อาจเป็นญาติของภรรยาที่มาเยี่ยม ฝ่ายญาติทางสามีจะต้องรินแก้วเหล้าแจก ครั้งละ 2 แก้ว โดยเชื่อกันว่าจะทำให้คู่สามีภรรยาอยู่ด้วยกันตลอดไป ก่อนจะดื่มเหล้าแต่ละคนจะพูดว่า “ผมจะดื่มเพื่อทุกคน” และจะต้องคว่ำจอก หรือคว่ำแก้วเมื่อหมดแล้ว ม้งจะนิยมดื่มเหล้าครั้งเดียวหมดแก้ว มีการดื่มซ้ำวนเวียนหลายครั้ง ผู้ที่มิใช่นักดื่มย่อมจะทนไม่ได้ อาจขอให้บุคคลอื่นช่วยดื่มแทนก็ได้

Continue reading

Dara-ang or Palaung (ดาราอั้ง-ปะหล่อง)

ประวัติความเป็นมา ดาราอั้ง แปลว่า เผ่าที่ชอบอาศัยอยู่บนภูเขา ปะหล่องเป็นชนเผ่าที่อพยพมาจากพม่า เรียกตัวเองว่า “ดาระอัง” คำว่า “ปะหล่อง” เป็นภาษาไทยใหญ่ซึ่งใช้เรียกชนกลุ่มนี้ นอกจากนั้นยังมีคำเรียกที่แตกต่างกันออกไปอีก เช่น ชาวพม่าเรียกปะหล่องว่า “ปะลวง” และไทยใหญ่บางกลุ่มก็ใช้คำว่า “คุณลอย” ซึ่งมีความหมายว่า คนดอย หรือคนภูเขา แทนคำว่าปะหล่อง วิถีชีวิต ชุมชนปะหล่องแต่เดิมเมื่อครั้งอยู่ในเมียนมาร์ จะตั้งบ้านเรือนอยู่รวมกันเป็นหมู่บ้านบนสันเขา การอยู่ร่วมกันของชนเผ่าปะหล่องในบ้านแต่ละหลัง ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นแบบครอบครัวขยาย ซึ่งจะเห็นได้จากขนาดบ้านแต่ละหลังมักมีขนาดใหญ่เท่าที่พบจะมีจำนวนเพียง 2-3 ครอบครัวเท่านั้น ที่อยู่รวมในบ้านหลังเดียวกัน นอกจากนี้ยังพบว่าการอยู่รวมกันของครอบครัวเดี่ยวหลายๆ ครอบครัวในบ้านหลังเดียวอีกด้วย บางหลังคาเรือนอยู่รวมกันถึง 20 ครอบครัว แต่ละครอบครัวอาจจะมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติหรือไม่ก็ได้ หากสมัครใจรักใคร่สนิทสนม และปรารถนาจะอยู่รวมบ้านเดียวกันก็จะตกลงกัน และช่วยกันสร้างบ้านหลังยาวจำนวนห้องเท่ากับจำนวนครอบครัวที่จะอยู่ร่วมกัน เมื่อเสร็จแล้ว แต่ละครอบครัวจะสร้างเตาไฟขึ้นภายในห้องของตน เพื่อประกอบอาหารและให้ความอบอุน กฎของการอยู่ร่วมกันใน “บ้านรวม” เช่นนี้คือ ทุกครอบครัวต้องปรองดองและเคารพเชื่อฟังผู้อาวุโสของบ้าน เครื่องดนตรี วอ (ปี ปาย ดี

Continue reading