Museum opening hours: 8.30AM to 4.30PM. Monday - Friday

Dara-ang or Palaung (ดาราอั้ง-ปะหล่อง)

ประวัติความเป็นมา

ดาราอั้ง แปลว่า เผ่าที่ชอบอาศัยอยู่บนภูเขา ปะหล่องเป็นชนเผ่าที่อพยพมาจากพม่า เรียกตัวเองว่า “ดาระอัง” คำว่า “ปะหล่อง” เป็นภาษาไทยใหญ่ซึ่งใช้เรียกชนกลุ่มนี้ นอกจากนั้นยังมีคำเรียกที่แตกต่างกันออกไปอีก เช่น ชาวพม่าเรียกปะหล่องว่า “ปะลวง” และไทยใหญ่บางกลุ่มก็ใช้คำว่า “คุณลอย” ซึ่งมีความหมายว่า คนดอย หรือคนภูเขา แทนคำว่าปะหล่อง

วิถีชีวิต

ชุมชนปะหล่องแต่เดิมเมื่อครั้งอยู่ในเมียนมาร์ จะตั้งบ้านเรือนอยู่รวมกันเป็นหมู่บ้านบนสันเขา การอยู่ร่วมกันของชนเผ่าปะหล่องในบ้านแต่ละหลัง ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นแบบครอบครัวขยาย ซึ่งจะเห็นได้จากขนาดบ้านแต่ละหลังมักมีขนาดใหญ่เท่าที่พบจะมีจำนวนเพียง 2-3 ครอบครัวเท่านั้น ที่อยู่รวมในบ้านหลังเดียวกัน นอกจากนี้ยังพบว่าการอยู่รวมกันของครอบครัวเดี่ยวหลายๆ ครอบครัวในบ้านหลังเดียวอีกด้วย บางหลังคาเรือนอยู่รวมกันถึง 20 ครอบครัว แต่ละครอบครัวอาจจะมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติหรือไม่ก็ได้ หากสมัครใจรักใคร่สนิทสนม และปรารถนาจะอยู่รวมบ้านเดียวกันก็จะตกลงกัน และช่วยกันสร้างบ้านหลังยาวจำนวนห้องเท่ากับจำนวนครอบครัวที่จะอยู่ร่วมกัน เมื่อเสร็จแล้ว แต่ละครอบครัวจะสร้างเตาไฟขึ้นภายในห้องของตน เพื่อประกอบอาหารและให้ความอบอุน กฎของการอยู่ร่วมกันใน “บ้านรวม” เช่นนี้คือ ทุกครอบครัวต้องปรองดองและเคารพเชื่อฟังผู้อาวุโสของบ้าน

เครื่องดนตรี

วอ (ปี ปาย ดี โบง วอ)

“วอ” มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ผู้ชายเป็นผู้บรรเลงเท่านั้น ในอดีตใช้เป่าเพื่อจีบสาว พ่อแม่ฝ่ายหญิงจะไม่ค่อยชอบหากฝ่ายชายไม่มีเครื่องดนตรีชนิดนี้ เพราะถือว่าเป็นการไม่ให้เกียรติพ่อแม่ของฝ่ายหญิง ในการเป่าวอในงานพิธีต่างๆ หรือ งานรื่นเริง โดยเฉพาะในเวลาที่บ่าวจะไปจีบสาว ฝ่ายชายจะเป็นผู้คิดทำนองและตัวโน๊ตของตนเองขึ้นมา ทำให้ฝ่ายหญิงจดจำได้ว่าใครเป็นผู้เป่า นอกจากนี้ “วอ” ยังเป็นเครื่องดนตรีที่มีความแตกต่างจากเครื่องดนตรีชนิดอื่น ตรงที่ใช้น้ำเต้าเป็นตัวเป่าลม เพราะมาจากธรรมชาติ มีความแข็งแรงทนทาน และส่วนปลายของน้ำเต้ามีรูปร่างเรียวและเล็ก สามารถนำเข้าปากเพื่อเป่าได้อย่างถนัด และตรงส่วนหัวก็ใหญ่พอที่จะเจาะรู เพื่อใส่ไม้ไผ่ได้ นอกจากนั้นยังมีรูปทรงที่สวยงามอีกด้วย

ดึง (ปี ปาย ดี โบง ดึง)

เป็นเครื่องดนตรีสำหรับผู้ชายเท่านั้น ใช้สำหรับจีบสาวเหมือนวอ แต่จะมีเอกลักษณ์คล้ายกับกีต้าร์ปัจจุบัน ไม่มีโน๊ตตายตัว ผู้เล่นจะเป็นผู้กำหนดโน๊ตหรือท่วงทำนองเอง ดังนั้นผู้ชายปะหล่องแต่ละคน จึงมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เล่นเพลงและทำนองไม่เหมือนกัน นอกจากใช้บรรเลงเพลงเพื่อจีบสาวแล้ว ดึงยังใช้ประโยชน์ได้อีกหลายอย่าง เช่น เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้เล่นในเทศกาลสำคัญต่างๆ ของชนเผ่า ตลอดจนสามารถนำไปเป็นของฝากได้อีกด้วย

ซะกวัน

เป็นเครื่องดนตรีที่ทำขึ้นจากไม้ไผ่ เพื่อคลายความเหงาในช่วงเวลาที่ออกไปทำงานนอกบ้าน เช่น ไปเลี้ยงควาย ทำไร่ ไปหาของในป่า เป็นต้น และใช้จีบสาว อีกทั้งสามารถใช้บรรเลงในงานเทศกาลต่างๆ เช่น วันพระ วันขึ้นปีใหม่ ได้อีกด้วย วิธีการเล่นนั้นไม่ยาก ใช้ปากเป็นเหมือนลำโพง และใช้มือดีด

Overview

The Palaung or Ta’ang are a Mon–Khmer ethnic minority found in Shan State of Burma, Yunnan Province of China and Northern Thailand.

Lifestyle

The Dara-Ang people hold firm to the principle that respect must be shown to elders. Those seen as inferior must obey, follow and show respect to their elders. In Dara-Ang culture, young people are taught to show respect to their elders and follow traditional ceremonies and way of life. The Dara-Ang mix Buddhist teachings with their own traditions. These philosophies are used to create the rules that the community must live by.

According to the power structure of Dara-Ang communities, changes must pass a group of community representatives or elders whose position is accepted in the society. This is called “Kun” in Dara-Ang language, meaning committee. These people have an influential position in administration and manage the community.

Instrument

The Dara-Ang tribe use musical instruments for many different purposes, such as entertainment after the people are tired from work, dedications to holy things or god, or as a symbol. The extensive list of musical instruments of the Dara-Ang tribe may divide into four kinds: those that are played, beaten, blown and knocked. There are many musical instruments of Dara-Ang tribe that are used in ceremonies or festival times such as the drum or “Grueng”, “U-Mong” (gong) and “Chae” (cymbals)

 

Post a comment