Museum opening hours: 8.30AM to 4.30PM. Monday - Friday

Hmong (ม้ง)

ประวัติความเป็นมา

ม้ง หมายถึง อิสระชน เดิมอาศัยอยู่ในประเทศจีน ต่อมาชาวจีนเข้ามาปราบปราม เป็นเหตุให้อพยพลงมาถึงตอนใต้ของจีน และเขตอินโดจีน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และตอนเหนือของประเทศไทย ประมาณพ.ศ. 2400 โดยมีสองกลุ่มได้แก่ ม้งน้ำเงินและม้งขาว ประชากรของม้งในประเทศไทย มีมากเป็นอันดับ 2 รองจากกะเหรี่ยง ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามภูเขาสูง

วิถีชิวิต

ในอดีตนั้นม้งอาศัยอยู่ตามภูเขาอยู่ตามธรรมชาติ ม้งต้องตรากตรำทำงานหนักอยู่แต่ในไร่เท่านั้น ทำให้ม้งไม่มีเวลาที่จะดูแลตัวเองและครอบครัว ดังนั้นชีวิตความเป็นอยู่ของม้งจึงเป็นแบบเรียบง่าย เพราะคลุกคลีกับธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่เท่านั้น ชีวิตประจำวันของม้งคือ จะทำไร่ ทำสวน และหารายได้เล็กน้อยเพื่อจุนเจือครอบครัว ส่วนเรื่องอาหารก็จะเป็นเรื่องเรียบง่าย

ในการกินอาหาร ม้งนิยมใช้ตะเกียบซึ่งรับมาจากธรรมเนียมจีน ส่วนเหล้าจะนิยมดื่มกันในงานเลี้ยงต่างๆ เช่น งานแต่งงาน งานเลี้ยงญาติ อาจเป็นญาติของภรรยาที่มาเยี่ยม ฝ่ายญาติทางสามีจะต้องรินแก้วเหล้าแจก ครั้งละ 2 แก้ว โดยเชื่อกันว่าจะทำให้คู่สามีภรรยาอยู่ด้วยกันตลอดไป ก่อนจะดื่มเหล้าแต่ละคนจะพูดว่า “ผมจะดื่มเพื่อทุกคน” และจะต้องคว่ำจอก หรือคว่ำแก้วเมื่อหมดแล้ว ม้งจะนิยมดื่มเหล้าครั้งเดียวหมดแก้ว มีการดื่มซ้ำวนเวียนหลายครั้ง ผู้ที่มิใช่นักดื่มย่อมจะทนไม่ได้ อาจขอให้บุคคลอื่นช่วยดื่มแทนก็ได้ เหล้าจะทำกันเองในหมู่บ้าน ซึ่งทำจากข้าวโพด ข้าว หรือข้าวสาลี ม้งให้เกียรติแก่ผู้ชาย เพราะฉะนั้นผู้หญิงจึงรับประทานอาหาร หลังผู้ชายเสมอ การประกอบอาหารของม้งส่วนใหญ่จะเป็นในลักษณะการต้ม ทอด และม้งยังมีความสามารถในการถนอมอาหาร ซึ่งในการถนอมอาหารสามารถถนอมได้หลายแบบ เช่น การหมัก การดอง (ซึ่งปัจจุบันนี้ ม้งส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้ตะเกียบในการรับประทานข้าวแล้ว ส่วนใหญ่จะใช้ช้อนมากกว่า ซึ่งเมืองไทยแทบจะไม่พบม้งที่ใช้ตะเกียบในการทานข้าว แต่ม้งที่ประเทศลาวยังคงใช้ตะเกียบในการรับประทานข้าวอยู่)

เครื่องดนตรี

เครื่องดนตรีของคนม้งที่มีมาแต่โบราณกาลนั้นก็มีหลากหลาย แต่ว่าดนตรีเหล่านี้ดูเหมือนว่ากำลังจะสูญหายไปจากวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่

เครื่องดนตรีประเภทเป่า

จิ๊งหน่อง (จ่าง-Ncas): เป็นเครื่องดนตรีคู่กายคู่ใจของหนุ่มสาวม้ง จ่างเป็นเครื่องดนตรีที่ปู่ย่าตายายท่านสร้างไว้และเชื่อกันว่ามีผีสิงอยู่ ใช้เป่าเพื่อบรรยายความรู้สึกในใจ สามารถเป่าได้หลากหลายรูปแบบ เช่น เราเป็น หนุ่มต้องเดินทางไกลไปเที่ยวสาวก็จะเป่าจ่างทางไกล หรือถ้าเป็นหนุ่มสาวในหมู่บ้านเดียวกัน ก็จะเป่าอีกแบบหนึ่ง เพื่อแสดงว่าเราเป็นคนคุ้นเคยกัน จ่างนับว่าเป็นเครื่องดนตรีของม้งที่ใช้สื่อรักกัน แต่พอได้มาเป่าจ่างโต้ตอบกัน และทำให้ต่างคนต่างเห็นคุณค่าของแต่ละคน จนเกิดความผูกพันและรักกัน ปัจจุบันจ่างได้หายไปจากวิถีชีวิตของหนุ่มสาวคนรุ่นใหม่แล้ว

แคน (Qeej): เป็นภาษาม้ง อ่านว่า เฆ่ง หรือ qeng ซึ่งแปลว่า แคน หรือ mouth organ เฆ่ง หรือแคนเป็นเครื่องดนตรีที่ทำจากลำไม้ไผ่ และไม้เนื้อแข็ง ถือได้ว่าเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยลำไม้ไผ่ทะลุปล้อง 6 อัน คือ ซย้งตั๋วจื๋อ (xyoob tuam tswm) 1 อัน และ ซย้งเฆ่ง (xyoob qeej) 5 อัน แต่ละอันมีขนาด และความยาวไม่เท่ากันกับลำไม้เนื้อแข็งซึ่งมีปากกลมยาว (ก๋างเฆ่ง kaav qeej) เป็นไม้แดงหรือ ที่ภาษาม้งเรียกว่า ดงจือเป๋ (ntoo txwv pem) เมื่อเป่าหรือสูดลมเข้าออก จะให้เสียงไพเราะต่อเนื่องกัน ตลอดจนจบตอนของบทเพลงลำไม้ไผ่แต่ละอันมีชื่อเรียกเฉพาะของตัวเอง เช่น ดีลัว ดีไล ดีเส่ง ดีตือ ดีจู้ คนม้งจะใช้แคน (เฆ่ง) ในพิธีงานศพเป็นหลัก โดยเป็นเครื่องนำทางดวงวิญญาณของผู้ตายไปสู่ปรโลก หรือแดนของบรรพบุรุษ ฉะนั้นในธรรมเนียมม้งจึงห้ามมิให้ฝึกเป่าแคนภายในบ้าน ส่วนใหญ่จะฝึกในที่ๆ ห่างไกลจากหมู่บ้านซึ่งมักจะเป็นที่พักพิงตามไร่สวน

ขลุ่ย: ขลุ่ยเป็นเครื่องดนตรีอีกประเภทหนึ่งของม้งที่ใช้เป่าเรียกหาคู่ และสร้างความจรรโลงใจ ซึ่งขลุ่ยม้งจะทำมาจากกระบอกไม้ไผ่และท่อพีวีซี จะใช้เป่าแทนความรู้สึก ของสภาพจิตใจของผู้นั้นจะเป่าในวันสำคัญ เช่น งานปีใหม่และงานสำคัญอื่นๆ

เครื่องดนตรีประเภทตี

กลอง หรือ จั๊ว: เป็นเครื่องดนตรีของม้งที่มีลักษณะเป็นกลองสองหน้าหรือหนึ่งหน้าก็ได้ รูปร่างกลมแบน โดยใช้แผ่นผนังสัตว์สองแผ่นมาประกอบเข้ากับโครงกลอง หลอมตัวกลองทั้งสองด้าน ริมขอบของแผ่นผนังทั้งสองแผ่นจะเจาะรูเป็นคู่ๆ สำหรับเสียบสลักไม้เล็กๆ เพื่อใช้เชือกร้อยสลักไม้ของแผ่นผนังทั้งสองด้านดึงเข้าหากัน ซึ่งจะทำให้แผ่นผนังกลองตึงตัวเต็มที่ เมื่อตีจะมีเสียงดังกังวานและมีไม้ตีกลองหนึ่งคู่ หรือสองอันทำจากไม้ด้านหนึ่ง จะเอาผ้าพันไว้สำหรับตีกลอง ส่วนด้านที่ไม่มีผ้าห่อใช้สำหรับจับ กลองม้งนี้จะใช้เมื่อประกอบพิธีงานศพ การปล่อยผีหรือปลดปล่อยวิญญาณ เท่านั้น

 

Overview

The Hmong people are an ethnic group in East and Southeast Asia. They are a sub-group of the Miao people. Since 1949, the Miao have been officially recognized by the government of the People’s Republic of China as one of its 55 official minority groups.

Lifestyle

In the past, Hmong people were not interested in studying because they had to work the fields. The government’s education curriculum is improving Hmong youths in the village to change their way of living. The children can go to school to get an education, their environment changes for the better, and they have the opportunity to move on to higher education, get a good job, and better quality of life. The Hmong can then integrate, adapting themselves socially and live in the city more easily. This improvement in education is of great importance to their daily life, but the traditional culture, and language, suffers as a result. This is a very important issue for the new generation Hmong people – to understand, and continue to practice, their traditional culture.

Instrument

Every tribe has the music in its heart but differs in the detail of singing the song. Hmong musical instruments are unique, but much has been lost from the Hmong way of living and the new generation now. Hmong musical instruments fall into two categories:

Blowing instruments

Jing-Nong (Ncas): This musical instrument is beside the Hmong teenagers. This instrument is passed down from the ancestor generation to generation and Hmong believe that Jang has haunted. They blow Jing-Nong to express their feelings. Jing-Nong is the Hmong musical instrument that mediates between lovers. They use Jing-Nong as an instrument of courtship. However, the Jing-Nong has been lost from the lifestyles of modern Hmong teenagers.

The reed mouth organ or Qeej in Hmong language: It is the one of the Hmong’s oldest musical instruments that made from bamboo and hardwood. The instrument makes a pleasant sound when played. Each of the six pieces of bamboo that add up to be a reed organ has its own name. Hmong people use the reed organ as the main instrument in their funeral ceremony to guide the spirit going to the next world or to the ancestor land. Therefore, they cannot play or practice the reed organ in their house.

Play the flute: The flute is the musical instrument of Hmong people that they use to call their soul mate, as well as for entertainment. The Hmong flute is made from bamboo and PVC plastic. They play the flute to express their feelings and will play it on important occasions such as New Year.

Percussion instruments

Drum or Jua in Hmong language: The drum can have either one or two faces. They use animal hide to make the drum’s face. Holes are made in the hide and string is threaded and tightened with a peg so that the hide is tense. When they tap the finished drum, it should reverberate and produce an appealing sound. They use this drum during the funeral ceremony, to allow the spirit to enter the next world.

Post a comment