Museum opening hours: 8.30AM to 4.30PM. Monday - Friday

Lisu or Lisaw (ลีซู หรือ ลีซอ)

ประวัติความเป็นมา

ลีซูเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่จัดอยู่ในกลุ่มธิเบต-พม่า ของชนชาติโลโล ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของชนเผ่าลีซูอยู่บริเวณต้นน้ำโขงและแม่น้ำสาละวิน อยู่เหนือหุบเขาสาละวินในเขตมณฑลยูนนานตะวันตกเฉียงเหนือและตอนเหนือของรัฐคะฉิ่น ประเทศพม่า ลีซูไม่มีภาษาเขียนของตนเองลีซูแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ ลีซูลายกับลีซูดำ ชาวลีซูที่อยู่ในประเทศไทยเกือบทั้งหมดเป็นลีซูลาย ส่วนลีซูดำนั้นอยู่ พม่า จีน

ลักษณะบ้านเรือน

ลักษณะบ้านแบบคร่อมดิน: ลักษณะของบ้านแบบปลูกคร่อมดินนั้น มักจะปลูกในพื้นดินที่เรียบเสมอกัน ส่วนวัสดุการก่อสร้างใช้ไม้ไผ่ ยกเว้นเสาบ้านที่ต้องใช้ ไม้เนื้อแข็งเพื่อความมั่นคง ส่วนฝานั้นกั้นด้วยฟากแบบสานขัดแตะ ส่วนหลังคามุงด้วยหญ้าคา ตัวบ้านจะไม่มีหน้าต่างมีประตูเข้าด้านหน้าด้านเดียว ภายในค่อนข้างจะมืด ส่วนบริเวณลานบ้านด้านนอกจะเป็นที่ตั้งครก กระเดื่องสำหรับตำข้าวประจำบ้าน และหลังบ้านจะเป็นเล้าไก่หลังเล็กๆ สำหรับไก่ที่เลี้ยงไว้ สร้างแบบยกพื้นมีหลังคาคลุมที่นอนของไก่ และมีรังไข่ ลักษณะ และรูปแบบในการสร้างบ้านของลีซูนั้น แบบเดียวกับอาข่า เพราะคำนึงถึงประโยชนใช้สอย ดังนั้นการสร้างบ้านในลักษณะนี้กันทั้งฝน และลมหนาวได้ดี

ลักษณะบ้านยกพื้น: ปกติบ้านของลีซูโดยทั่วไปจะสร้างคร่อมดิน แต่ก็มีบางหมู่บ้านที่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นลาดเขาพื้นที่ราบมีน้อย การปลูกสร้องบ้านจึงจำเป็นต้อง ยกพื้นเพื่อให้เหมาะกับสภาพของพื้นที่ และใต้ถุนก็จะเป็นผลพลอยได้ซึ่งใช้ประโยรน์ได้หลายอย่าง เช่น เป็นที่ตั้งครกกระเดื่องตำข้าว ที่เก็บฝืน และที่ตั้งเล้าไก่ ส่วนหน้าบ้านก็จะเป็นที่นั่งพักผ่อน และอาบแดดช่วงเช้าในยามหน้าหนาว ส่วนบันไดทางขึ้นนั้นจะอยู่ด้านของชานด้านใน ไม่มีหน้าต่าง มีประตูเข้าออกทางเดียว บ้านลีซูโดยทั่วไปไม่มีรั้ว ปลูกโล่งๆ เรียงรายกันทั้งหมู่บ้าน

การแต่งกาย

ลักษณะการแต่งกายของผู้ชาย

ชุดของผู้ชาย ประกอบด้วยกางเกงเป้าต่ำสีฟ้าหรือสีอะไรก็ได้ สวมเสื้อแขนยาว จะติดด้วยกำมะหยี่ ซับในขวามักแต่งด้วยดุมเงินยิ่งมากยิ่งดี เอวคาดด้วยผ้าแดง และในย่ามก็ห้อยพู่หางม้ายาวคล้ายของผู้หญิง แต่ว่าหนุ่มนั้นห้อยไว้ข้างหน้า เดิมทีผู้ชายจะสวมผ้าโพกศีรษะทำด้วยผ้าไหมสีแดง ฟ้า เหลือง และดำ แต่ปัจจุบันหายากแล้ว เห็นใช้กันแต่ผ้าขนหนูขาว สอดกระดาษแข็งให้ตั้งขึ้นราว 20 ซม. พันรอบศีรษะง่ายๆ และห้อยตุ้มหูเงินข้างเดียวจากรูที่เจาะไว้ที่ติ่งหูซ้าย สวมกำไลก้านเงินเรียบๆ ที่ข้อมือข้างละวง ย่ามใช้งานของลีซูทอด้วยด้ายขาวหรือด้ายดิบโดยใช้ที่ผูกข้อมือ เป็นผ้าพื้นขาวยกลายทางสีแดง หรือสีอื่นๆ นอกจากสะพายบ่าเหมือนเผ่าอื่น ยังมีการติดสายหวายถัก ซึ่งใช้คาดศัรษะให้ตัวย่าม ห้วอยู่บนบ่าอีกด้วย ย่ามไปงานทอด้วยเส้นด้าย มีการทิ้งครุยกรายด้านข้าง แล้วยังมีหู คือ ชิ้นผ้าสี่เหลี่ยมเล็กๆ ที่มุมทั้งสองของย่าม ลายปักงดงามแปลกตาที่หู ไม่มีซ้ำกัน เพราะถือว่าเป็นลายเซ็นของคนทำ บางคนก็จะติดกระดุมเงินเม็ดน้อยไว้ที่มุมหู ปากย่ามกุ๊น และปะแต่งด้วยแถบผ้าหลากสี และยังทิ้งแถบผ้าสีแดง และสีฟ้าเข้มห้อยจากหูลงไปด้วย ย่ามที่งดงามที่สุดไม่ว่าจะเป็นของลีซู หรือเผ่าอื่นใดคือ ย่ามเกี้ยวสาวของหนุ่มวัยกำดัดนั้นทำเหมือนย่ามที่กล่าวมาแล้ว แต่แผ่นหน้าปักลูกปัดเป็นเม็ดเล็กๆ หลายสีไว้เต็มพืดเป็นลายละเอียดแถบผ้าที่ห้อยจากหูนั้นยาวร่วม 20 ซม. ปักประดับด้วยด้ายสีสดหลายสีไม่มีว่างเว้นกัน ย่ามห้อยครุยไหมพรมหลากสียาวเทาแถบผ้าจากหู และปกย่ามติดกระดุมตุ้มระย้าเงินตลอดแนว

ลักษณะการแต่งกายของผู้หญิง

ผู้หญิงลีซอทุกวัยแต่งกายด้วยผ้าสีสดใส สวมใส่เป็นเสื้อตัวหลวม แขนกระบอก ส่วนหน้าของเสื้อยาวถึงเข่า นิยมสีน้ำเงิน เขียว ฟ้า และม่วง คอเป็นผ้าสีดำ ตกแต่งลวดลายสวยงาม โดยนำผ้าแถบผ้าสีต่างๆ เช่น ม่วง ฟ้า ชมพู เขียว ดำ ขาว ส้ม แดง มาเย็บต่อกันเป็นริ้ว สวมเสื้อกั๊กที่ตกแต่งด้วยกระดุมเงิน สวมกางเกงหลวมๆ สีดำ ในตัวเสื้อ ใช้ผ้าสีดำพันรอบเอว คล้ายเข็มขัด สวมปลอกขาเพื่อป้องกันแมลง กิ่งไม้ หรือกันหนาว ผู้หญิงสูงวัยโพกหัวด้วยผ้าสีดำยาวพันหัวหลายๆ รอบแล้วเก็บชาย หญิงสาวจะสวมหมวกโดยประดับประดาด้วยลูกปัดหลากสี ส่วนผู้ชายลีซอ ทุกวัยแต่งกายเหมือนกัน โดยสวมใส่กางเกงที่มีความยาวเลยเข่าเล็กน้อย เป้ากว้างมาก สีน้ำเงิน สีเขียว ฟ้า เสื้อสีดำ แขนยาว คอป้ายตกแต่งกระดุมเงิน ติดรังดุมสีน้ำเงินที่ส่วนบนของตัวเสื้อ สวมปลอกขาสีดำ

เครื่องดนตรี

เครื่องดนตรีของแต่ละชนเผ่า คือ สิ่งที่บ่งบอกถึงความสวยงามและความหลากหลายทางภูมิปัญญาความคิด ภูมิปัญญาของชาวบ้านที่เกิดขึ้นมา เพื่อใช้ในการสื่อทางอารมณ์ แทนการบอกเล่ากันทางปากต่อปาก เสียงไพเราะ เพาะพริ้งของเครื่องดนตรีแต่ละชนิดยามตะวันแลง จะยังคงอยู่และสืบเนื่องต่อไป หากได้รับการปลูกฝัง และการเอาใจใส่ของกลุ่มคนที่ได้ชื่อว่าชนรุ่นใหม่ เครื่องดนตรีที่นิยมกันมากของชนเผ่าลีซู คือ พิณ 3 สาย เรียกว่า ซึง (ซือ บือ) และ แคน (ฝู่หลู่)

Overview

Lisu earned their name as the tribe that is alive with color. In fact, the Lisu are considered to use the greatest variety of colors of all the hill tribes. Almost all Lisu residing in Thailand are of the striped Lisu sub-group. As for the black Lisu, they are spread out across China, Burma, India, and Thailand.

House

The style and design of Lisu houses is very similar to that of the Akha. Both tribes have developed their housing designs over many generations, with careful thought and consideration being made as to what is most practical. The result is a sturdy house design that does quite a good job of protecting its inhabitants from the elements-namely wind and rain.

Dress

Men Dressing

Men wear short tunics and breaches reaching the knee. Some wear a black turban. A cutting knife dangles at a man’s left waist and a quiver hangs at his right waist. Composed of a pair of pants with a low-hanging crotch. Often light blue, these pants can also be found in a variety of other colors. The shirt is made of felt, with long-sleeves and an inside lining. Silver buttons are often sewn onto the shirt. The more buttons the better, with the ideal being 1,000 buttons.

A red sash is wrapped around the waist and hanging off the shoulder is a handsomely decorated bag. Similar to a woman’s bag, long tassels hang down from the bag like horse’s hair. Unlike the women, however, the men wear their bag in front of them.

Women Dressing

Women wear short dresses and long skirts. Their heads are decorated with red and white glass beads and their chests with necklaces formed by strings of colored beads. The style of Lisu women’s dress has changed quite significantly through the generations. In the past, weaving was done by hand, but now a machine is used. Designs use to be more intricate and beautiful, but the new designs are smaller. Lisu clothing used to be made from hemp fibers. In northern Thailand, cotton has now taken over as the primary material.

Instrument

The musical instruments in each tribe tell about the feelings, beauty and varied wisdom of the village instead of putting it into words. The beautiful sound of each musical instrument, weaving through the evening remains today and will continue to the next generation, as long as the new generation is taught and is interested.

Post a comment